ผู้ที่ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูง (ฉลากเบอร์ 5) ต้องผ่านการทดสอบหาค่าประสิทธิภาพพลังงานของปั๊มความร้อน โดยวัดค่าประสิทธิภาพของปั๊มความร้อน (COPt) ต้องมากกว่า หรือเท่ากับ 3.0 มาตรฐานของประเทศไทย ได้มีการพัฒนาปรับปรุง จนปัจจุบันได้ทำการพัฒนาปรับปรุง โดยอ้างอิงวิธีการทดสอบจากมาตรฐานของยุโรปเลขที่ EN255-3 โดยคิดประสิทธิภาพการดึงน้ำร้อนที่ผลิตเสร็จแล้วออกไปใช้งาน (COP for tapping) และ ควบคุมสภาวะอากาศขณะทดสอบ ให้เหมาะสมกับประเทศไทย ที่อุณหภูมิ 35°C 40 %RH ตามสภาวะการทดสอบ ตารางที่1
ตารางที่ 1 สภาวะการทดสอบ ตามมาตรฐาน EN 255-3 มีดังนี้
สภาวะการทดสอบ | มาตรฐาน EN 255-3 | การทดสอบปั๊มความร้อนในประเทศไทย |
อุณหภูมิการเปาะแห้งในห้องทดสอบ (Tdrybulb) | 15 ๐C | 35 ๐C |
อุณหภูมิการเปาะเปียกในห้องทดสอบ (Twetbulb) | 12 ๐C | 24 ๐C |
อุณหภูมิการเปาะแห้งของอากาศที่ออกจากเครื่องปั๊มความร้อน | ไม่กำหนด | น้อยกว่า 30 ๐C |
อุณหภูมิน้ำป้อนเข้าถังพักน้ำร้อน | 15 ๐C | 25 ๐C |
อุณหภูมิน้ำที่ตั้งไว้ให้เครื่องปั๊มความร้อนตัดการทำงาน | ตามข้อกำหนดของเครื่อง | 55 ๐C |
อุณหภูมิน้ำที่ตั้งไว้ให้เครื่องปั๊มความร้อนต่อการทำงาน | ตามข้อกำหนดของเครื่อง | 50 ๐C |
อัตราไหลเมื่อมีการดึงน้ำไปใช้งาน | 0.2 L/s เมื่อ Vn<=400 L 0.0005*Vn เมื่อ Vn>400 L | 0.2 L/s เมื่อ Vn <=400 L 0.0005*Vn เมื่อ Vn>400 L |